Home » บทความ » 10 วิธีทำให้พนักงานมีความสุขตลอดปี และวิธีบริหารคนให้ได้ใจคน

10 วิธีทำให้พนักงานมีความสุขตลอดปี และวิธีบริหารคนให้ได้ใจคน

การที่เราจะก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารนั้น ต้องอาศัยในเรื่องของความรู้ความสามารถ มีความมั่นใจและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ทั้งนี้ก็เพื่อนำพาองค์กรให้ไปรอด ไปสู่เป้าหมายและประสบความสำเร็จ แต่การเป็นนักบริหารที่ดีนั้น จะเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้อง บริหารคนให้เป็นด้วย

ไม่ว่าตอนนี้คุณกำลังได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ทำอะไร หรือกำลังทำอะไร ที่อาจจะเกี่ยวกับการพบปะผู้คน ประสานงาน ติดต่อสื่อสาร ต่างๆนั้น ก็ล้วนต้องใช้ หลักของการเป็นผู้บริหารที่ดีเข้ามาช่วย ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ไหนๆ ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ถ้าเรารู้จักหลักในการปฏิบัติตนเทียบเท่ากับการเป็นผู้บริหารคนหนึ่งขององค์กร

การทำงานในระดับกลางและระดับสูง ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของกิจการทั่วๆ ไปที่กำลังเติบโต หรือแม้แต่พนักงานบริษัทที่ถูกโปรโมทขึ้นมานั่งแท่นในระดับผู้จัดการ คุณย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ คุณไม่สามารถลงมือทำได้ด้วยตัวคนเดียว การทำงานเป็นทีมย่อมหมายถึงการเข้าใกล้ความสำเร็จที่เร็วกว่า โดยเฉพาะเรื่องธุรกิจ

โปรแกรมเงินเดือน BeeHR ช่วยจัดการเงินเดือนให้คุณ ไม่ต้องกลัวว่าเงินเดือนนี้จะสะดุดหรือล่าช้า
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601

เมื่อมีคำว่าทีมขึ้นมา และคุณเองเป็นผู้จัดการทีมที่คุณสร้างขึ้นด้วยการจ้างพวกเขา หรือถูกมอบหมายให้ดูแลทีมงานที่มีอยู่แทนนายจ้าง ทักษะการทำงานในสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ทักษะในการ “บริหารคน” ย่อมเป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่งกว่า

การมีลูกน้องที่ดีและบริหารความสัมพันธ์ให้พวกเขารักคุณ เทิดทูนคุณ ย่อมมีความสำคัญมากกว่าการที่คุณเป็นผู้จัดการที่ขายเก่งหรือทำงานเก่งเสียอีก ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าลูกน้องที่เก่งกว่ารักและยอมอุทิศตัวเพื่อทำงานกับคุณ คุณย่อมไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมยังทำงานง่ายขึ้นอีกต่างหาก

 

10 วิธีสร้างสุขให้พนักงานมีความสุข

การทำให้พนักงานมีความสุขนั้นมีวิธีการหลากหลายที่ไม่ใช่แค่การขึ้นเงินเดือน หรือให้โบนัสก้อนโต สำหรับบริษัทเล็กๆ ที่ไม่ได้มีกำไรมากนัก จะทำอย่างไรให้พนักงานมีความสุขและไม่คิดลาออกแม้จะได้เงินไม่เยอะก็ตาม BeeHR มีวิธีการทำให้พนักงานมีความสุขกันเลยค่ะ

  1. โบนัสน้อยดีกว่าไม่ได้เลย

แม้ว่าผลประกอบการของบริษัทจะไม่ดีนัก และการได้รับโบนัสอันน้อยนิดก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย อย่างน้อยก็ทำให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขามีคุณค่า และการทุ่มเทมาตลอดทั้งปีนั้นไม่สูญเปล่า การจ่ายโบนัสยังเป็นการสร้างความจงรักภักดีต่อบริษัท และอยากจะสู้ไปด้วยกันเพื่อโบนัสที่ดีกว่านี้ในปีหน้า

  1. ลงทุนกับซอฟแวร์

ประสิทธิภาพในการทำงานจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานด้วย หากองค์กรลงทุนกับซอฟแวร์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงาน พนักงานจะทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเครียดในการทำงาน ความสุขก็เพิ่มมากขึ้น

  1. ให้ความสำคัญกับการสร้างทีมเวิร์คที่แข็งแกร่ง

ปัญหาที่พบบ่อย และบั่นทอนกำลังใจในการทำงานของพนักงานก็คือปัญหาเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นการสร้างความรู้สึกที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานเป็นทีมจะช่วยให้พนักงานมั่นใจ สบายใจที่จะได้ร่วมงานกันอย่างมีความสุข ทำให้การทำงานราบรื่น และเกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพ

  1. ชื่นชม และขอบคุณพนักงานเมื่อทำงานได้ดี

ติดตามความคืบหน้าในการทำงานของพนักงานอยู่เสมอ และเมื่อพวกเขาสามารถทำงานได้ทะลุเป้าที่กำหนด ควรส่งอีเมลขอบคุณพนักงานในความทุ่มเททำงานหนักมาตลอด และแสดงให้เขารับรู้ว่าคุณชื่นชม และเห็นคุณค่าของเขาเสมอ

  1. ฉลองวันเกิดให้พนักงาน

เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะปล่อยให้วันเกิดผ่านเลยไปในเมื่อยังมีงานกองโตรอคุณสะสาง แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากที่จะทำให้พนักงานเห็นว่าคุณให้ความสำคัญกับวันสำคัญของพวกเขาเช่นกัน การฉลองวันเกิดให้พนักงานด้วยเค้กสักก้อน หรือพาไปเลี้ยงอาหารกลางวัน หรือการ์ดอวยพรจากทุกคนในทีม แค่นี้ก็ทำให้พนักงานมีความสุขแล้ว

  1. สนับสนุนให้พนักงานมีโอกาสเติบโต

พนักงานที่มองเห็นโอกาสเติบโต จะมีแรงจูงใจในการทำงานต่างจากพนักงานที่มองไม่เห็นโอกาสเติบโต ซึ่งจะไม่มีความสุขในการทำงาน และมีแนวโน้มที่จะมองหางานใหม่ คุณสามารถสนับสนุนพวกเขาได้โดยให้เขาเสนอแนวทางพัฒนาการทำงาน เช่น การเข้าคอร์สอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวเนื่องกับงานของเขา หรือแนะนำแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง หนังสือดีที่ควรอ่าน หรือช่องทางอื่นๆ ที่เป็นการต่อยอดความรู้ให้เขาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

  1. ให้อิสระในการทำงาน

หากพนักงานมีโอกาสคิดโปรเจ็กต์ของตนเอง ได้นำเสนอไอเดียใหม่ๆ และได้ดำเนินการตามแนวทางของเขาเอง พวกเขาจะมีความสุขในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และเพลิดเพลินกับการทำสิ่งที่เค้าคิดขึ้นมาให้สำเร็จ เพื่อแสดงให้เจ้านายเห็นความสามารถของเขา แค่เจ้านายให้โอกาสก็เป็นการสร้างความสุขง่ายๆ แบบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

  1. สร้างบรรยากาศที่น่าทำงาน

สามารถทำได้ตั้งแต่การลดเวลาในการประชุมที่ยาวนานจนทำให้พนักงานหมดพลัง การเปิดเพลงสนุกๆ ปลุกชีวิตชีวาในการทำงาน ไปจนถึงการวางตัวของเจ้านาย และการสื่อสารกับพนักงานที่สร้างความรู้สึกอุ่นใจว่ามีคนคอยสนับสนุนเขาอยู่เสมอ เป็นต้น

  1. มีเวลาพักเบรกทำกิจกรรมอื่น

พนักงานควรพักสายตา ลุกขึ้นเดิน ยืดเส้นยืดสายระหว่างการทำงานเป็นระยะอยู่แล้ว จะดีไหมถ้าจัดเวลาให้เค้าได้พักเบรกสั้นๆ ไม่เกิน 10 นาที อย่างเป็นกิจลักษณะไปเลย โดยช่วงเวลานี้พนักงานสารถเช็คไทม์ไลน์ Facebook หรืออัปเดตความเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียได้ ซึ่งผลการวิจัยของสาขาการจัดการ และการตลาด มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียพบว่า สามารถช่วยให้พนักงานอารมณ์ดี และเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย

  1. รักษาสมดุลชีวิตและงานของพนักงาน

หากนายจ้างให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิตพนักงาน พนักงานจะมีความสุขในการทำงาน และมองงานในมุมบวก รู้สึกว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มชีวิตของเขา ไม่ได้ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาให้ครอบครัว หรือไม่มีเวลาแม้แต่จะดูแลสุขภาพของตนเอง

ความสุขเกิดจากการ “ให้ใจ” กับพนักงาน ถ้าพวกเขาได้ใจจากนายจ้างหรือเจ้านาย พวกเขาก็จะทำงานอย่างมีความสุข อยู่ในบริษัทเล็กแต่อบอุ่น ย่อมสุขใจกว่าบริษัทใหญ่ที่มีแต่การแก่งแย่งชิงดีกันเป็นไหนๆ

สนใจโปรแกรมบริหารงานบุคคล

วิธีบริหารคนให้ได้ใจคน

การมีลูกน้องที่ดีและบริหารความสัมพันธ์ให้พวกเขารักคุณ เทิดทูนคุณ ย่อมมีความสำคัญมากกว่าการที่คุณเป็นผู้จัดการที่ขายเก่ง หรือทำงานเก่งเสียอีก ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าลูกน้องที่เก่งกว่ารัก และยอมอุทิศตัวเพื่อทำงานกับคุณ คุณย่อมไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมยังทำงานง่ายขึ้นอีกต่างหาก มาดูวิธีการทำให้ลูกน้องรักและศรัทธาคุณกันเลยค่ะ หรือบริหารคนอย่างไรให้ได้ใจคน

  1. หลีกเลี่ยงหรือห้ามใช้คำหยาบกับลูกน้องแม้แต่คำเดียว

เป็นการใช้สกิลปากอย่างถูกต้องและสุภาพ จงหลีกเลี่ยงการใช้คำหยาบ การแซวแบบแรงๆ แม้แต่คำว่า “กู มึง” ก็ไม่สมควรใช้ ต่อให้คุณอยากจะมีความเป็นกันเองกับลูกน้องมากแค่ไหนก็ตาม ถ้าคุณต้องการได้ใจลูกน้องที่มีต้นทุนทางสังคมสูง หรือลูกน้องที่เก่งกาจและเป็นมืออาชีพ พวกเขาจะรับไม่ค่อยได้กับคำหยาบคาย ต่อให้รับฟังต่อหน้าและยิ้ม แต่ลับหลังพวกเขาย่อมไม่พอใจแน่นอน แถมยังตัดสินคุณได้ด้วยว่าคุณมันก็แค่เจ้านายระดับธรรมดาๆ คนนึง ความเจ้ายศเจ้าอย่างในตัวคุณอาจทำให้คุณไม่รู้ตัว ท้ายที่สุดลูกน้องก็จะเลิกหนุนคุณและไม่ได้อยากรับรู้หรือสนับสนุนคุณสักเท่าไหร่

  1. สื่อสารกับลูกน้องในเรื่องงานภายในเวลางานเท่านั้น

ยุคนี้เป็นยุคที่คนเรามักต้องการสมดุลชีวิตกับการทำงาน (Work Life-Balance) ซึ่งยุคให้การทำงานแบบ “หามรุ่งหามค่ำ” คงค่อยๆ หมดไปเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบันนี้ ยิ่งยุคนี้มีบริษัทสมัยใหม่ หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบการจัดการแบบมืออาชีพ โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ทอัพ ที่ให้ความสำคัญกับเวลาการทำงานและสมดุลชีวิตของพนักงานเป็นสำคัญ การสื่อสาร สั่งงานลูกน้องนอกเวลางาน เช่น ช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงหลัง 6 โมงเย็น คงไม่ใช่อะไรที่คุณสามารถทำได้แบบปกติอีกแล้ว นอกจากลูกน้องจะรู้สึกรำคาญและไม่อยากแม้แต่จะรับสายหรือเปิดไลน์มาดูข้อความของคุณ คุณยังมีสิทธิ์ถูกตราหน้าว่าเป็นผู้จัดการที่แย่และบริหารเวลาการทำงานไม่ได้เรื่องนั่นเอง

  1. รักษาคำพูดอยู่เสมอ

ยิ่งคุณเป็นใหญ่ คำพูดคุณยิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรับปากมั่วซั่วและทำไม่ได้ เช่น รับปากว่าจะช่วยลูกน้องแต่ก็ลืม รับปากว่าจะพิจารณางานสำคัญให้แต่ก็จำไม่ได้ หรือแม้แต่การลืมอ่านอีเมลที่ลูกน้องลูปอีเมล (CC) คุณและคุณก็ไม่ได้อ่าน เป็นต้น เรื่องแบบนี้ไม่สามารถปล่อยปละละเลยได้เลย เพราะมันหมายถึง “ความไม่ใส่ใจ” ของคุณ และเมื่อคุณจำไม่ได้ คุณก็จะเริ่มโวยวายหรือตีโพยตีพายว่าคุณได้พูดแบบนี้จริงๆ เหรอ ลูกน้องจะเจ็บและจำ จากนั้นก็จะหมดความเชื่อใจต่อคุณไปเรื่อยๆ เลวร้ายกว่านั้นก็ถึงขั้นลาออกได้เลย ถ้าเป็นคนขี้ลืมก็ควรจดบันทึกหรือให้ลูกน้องช่วยส่งข้อมูลแบบมี “ลายลักษณ์อักษร” เช่นไลน์ หรืออีเมล เพื่อช่วยเตือนความจำอีกทางก็ได้

  1. สอบถามความรู้สึกของลูกนี้ที่มีต่อคุณแบบเปิดใจ

คุณเคยไหมที่จะถามลูกน้องไปตรงๆ และให้พวกเขาบอกคุณแบบไม่อ้อมค้อมว่ารู้สึกยังไงเมื่อทำงานกับคุณ เชื่อเถอะว่าเจ้านายหลายๆ คนไม่เคยถามเลย กลัวที่จะรับความจริงไม่ได้ การออกตลาดและทำงานด้วยกันจะทำให้คุณมีเวลาส่วนตัวกับลูกน้องมากขึ้น คุณสามารถถามพวกเขาไปตรงๆ ได้เลยว่าโอเคกับการทำงานกับคุณไหม มีสิ่งไหนที่ไม่ชอบหรืออยากให้ปรับปรุง เพื่อที่คุณจะได้เป็นเจ้านายที่ดีขึ้น พวกเขาทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น คำพูดจากลูกน้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการประเมินตัวเองว่าควรปรับปรุงจุดไหน หรือสิ่งใดที่ทำให้ลูกน้องรู้สึกดีกับคุณ คุณจะได้รักษาความดีนั้นไว้ พร้อมกับเป็นสิ่งที่ชื่นใจในการทำงานระดับผู้จัดการ

  1. ให้ความเห็นเรื่องความสามารถของทีมงานด้วยความจริงใจ

เมื่อคุณอยู่กับลูกน้องอย่างมีเวลา คุณสามารถบอกความเห็นเชิงแนะนำในเรื่องของการทำงานหรือด้านอื่นๆ ได้ เช่น ข้อเสนอแนะเรื่องการทำงาน การวางตัว การแก้ปัญหา การชมเชย ถ้าเป็นเรื่องเชิงบวก คุณควรพูดต่อหน้าเขาและทีมงาน เช่น การชมเชยเรื่องความสามารถ การกระทำที่ดี ส่วนเรื่องเชิงลบ คุณควร “ปิดห้องคุย” หรืออยู่กับเขาแบบสองต่อสอง อย่าพูดเรื่องลบๆ ทั้งๆ ที่ลูกน้องทำผิดจริงต่อหน้าคนอื่นโดยเด็ดขาด เพราะเรื่องแบบนี้จะหมายถึง “การหักหน้า” ลูกน้องของคุณต่อหน้าคนอื่น และทำให้พวกเขาเสียหน้าอย่างแรงจนเกลียดคุณ

  1. แสดงให้เห็นถึงการทำงานแบบมืออาชีพ

นิสัยใจคอที่ดีนับเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีกว่านี้ไปอีกถ้าลูกน้องยอมรับเรื่องความสามารถในการทำงานของคุณ ถ้าคุณเป็นมือโปรก่อนถูกดึงเป็นผู้จัดการ คุณคงไม่ค่อยมีปัญหามากนักเมื่อต้องแสดงฝีมือต่อหน้าลูกน้อง เช่น การขายต่อหน้าลูกค้าที่ยากและเขี้ยว โดยมีลูกน้องเป็นผู้สังเกตการณ์ ถ้าคุณทำสำเร็จ ลูกน้องย่อมยอมรับนับถือฝีมือคุณมากยิ่งขึ้นแบบไม่ต้องพูดเยอะ นอกจากนี้คุณควรเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งเรื่องการทำงานให้ตรงเวลา มาตามเวลานัด ไม่ขี้เกียจหรืออู้งานจนลูกน้องสังเกตได้

  1. จงตัดสินผลการทำงานของลูกน้องด้วยข้อมูล ไม่ใช่ความรู้สึกหรืออารมณ์

มีบ้างที่คุณเกิด “อารมณ์พิศวาส” (ฮา) กับลูกน้องที่พูดจาดี หน้าตาดี นิสัยดี คุณจึงเริ่มเทใจให้พวกเขาแบบ “รักไม่เท่ากัน” หรือถูกเลียจนหัวแม่เท้าระบมโดยลูกน้องผู้ลิ้นยาว เอาใจเก่ง จนทำให้คุณมองข้ามผลการทำงานที่แท้จริงของพวกเขา นี่คือการตัดสินคนคนหนึ่งด้วยอารมณ์และความรู้สึก ทีมจะพังเอาได้เพราะคนอื่นรู้สึกว่าคุณไม่แฟร์ คุณควรวัดผลการทำงานจากกิจกรรมที่สามารถวัดผลได้ เช่น จำนวนครั้งที่โทร เข้าพบลูกค้า ติดตามงาน ตัวเลข คนที่ทำได้ดีและมีความสม่ำเสมอย่อมเป็นคนที่ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมตามตัวเลขในข้อมูล ส่วนคนที่เอาแต่เลียอย่างเดียวแต่การทำงานที่วัดผลเป็นตัวเลขไม่ได้เรื่องย่อมเป็นคนที่ไม่ได้เรื่องต่อไป

  1. พยายามอยู่ให้ห่างเรื่องดราม่าภายในองค์กร

เจ้านายที่ดีคือคนที่วางตัวอยู่เหนือดราม่า ไม่ว่าลูกน้องจะสุมหัวหรือกำลังเกลียดกัน ก่อม็อบการเมืองด้วยกันเอง คุณต้องอยู่เหนือกว่านั้นและวางตัวเป็นกลาง เจ้านายที่ห่วยจะเริ่มลงไปคลุกดินโคลนกับลูกน้องโดยโอนเอียงไปทางลูกน้องที่ตัวเองชื่นชอบ จากนั้นก็กลายเป็นคนที่ร่วมวงนินทากับคู่กรณีไปซะงั้น งานของคุณคือทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จนะครับ ไม่ใช้เข้าไปผสมโรงก่อเรื่องดราม่า ถ้ารู้ว่ามีดราม่าและมีความขัดแย้งภายในทีม จงลงไปเคลียร์ปัญหาแบบเป็นกลางให้ทุกอย่างจบลงโดยเร็วที่สุด

  1. จงคิดเสมอว่าพวกเขาอย่างทำงานให้ดีขึ้นและจงช่วยเขาให้ประสบความสำเร็จ

ใครก็ตามที่อยู่ในโลกแห่งการทำงาน พวกเขาย่อมอยากก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ เจ้านายสมัยก่อนจะมีความคิดที่ห่วย เช่น ไม่อยากให้ลูกน้องเก่งมากนักเพราะกลัวพวกเขาแย่งเก้าอี้ จึงกดหัวหรือข่มลูกน้องอยู่เสมอ แต่ยุคนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว ลูกน้องที่เก่งกาจย่อมอยากประสบความสำเร็จ คุณต้องถามตัวเองและลงมือทำว่าจะทำอย่างไรถึงจะพาพวกเขาประสบความสำเร็จได้โดยเร็ว อย่าลืมนะครับว่าเวลาลูกน้องประสบความสำเร็จ ตัวคุณเองก็จะประสบความสำเร็จตามไปด้วยเช่นกัน

  1. ปฎิบัติกับพวกเขาด้วยความจริงใจและตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ดีเสมอ

แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เช่น ลูกน้องของคุณทำเรื่องผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง (ยกเว้นเรื่องทุจริต ทะเลาะเบาะแว้ง โกงกินบริษัท) คุณก็ไม่สามารถปั้นหน้ายักษ์ด่ากูมึงได้ การแสดงสีหน้าด้วยอารมณ์โกรธ เครียด ย่อมไม่มีประโยชน์และทำให้ลูกน้องหวาดกลัวคุณ ต่อให้พวกเขาทำดีลพันล้านล่ม คุณก็ด่าด้วยอารมณ์โกรธไม่ได้ คุณเคยเห็นผู้จัดการทีมฟุตบอลพุ่งเข้าไปด่าลูกน้องเวลายิงจุดโทษพลาดมั้ยความเสียหายเยอะกว่าคุณแบบเทียบกันไม่ได้เลย การปฎิบัติกับลูกน้องด้วยการเป็นผู้นำที่แท้จริง ตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ดีจะทำให้พวกเขารู้สึกศรัทธาคุณเสมอ

สรุป

นี่ก็คือวิธีคิดและวิธีลงมือทำสำหรับการเป็นหัวหน้างานหรือผู้จัดการที่ลูกน้องรัก ขอบอกเลยว่าพูดง่าย แต่ทำได้ไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณเองล้วนๆ เลย

เพิ่มเพื่อน .. เพื่อติดตามข่าวสารของเรา