เงินประจำตำแหน่ง คือ ค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นสำหรับตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะด้านการทำงานเฉพาะทาง ตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางด้านอาชีพ เป็นต้น
มีคำถามเกี่ยวกับเงินค่าตำแหน่งหลายข้อที่พนักงานเงินเดือน หรือแม้กระทั่งฝ่ายบุคคลหลายคนที่ยังไม่ได้รับคำตอบ หรืออาจจะสงสัยเกี่ยวกับเงินค่าตำแหน่งว่าที่จริงแล้วเป็นยังไง วันนี้เราได้รวบรวมคำถามที่หลายคนยังไม่รู้มาฝากกันค่ะ
โปรแกรม HR
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
คำถามเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่ง
1. เงินค่าประจำตำแหน่งเป็นค่าจ้างหรือไม่?
ตอบ เคยมีข้อหารือของกระทรวงแรงงาน ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายค่าตำแหน่งให้กับลูกจ้าง 3 ประเภท
(1) เงินค่าตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน บริษัทฯ ได้จ่ายค่าตำแหน่งให้กับลูกจ้างให้ในอัตรา 200 – 1,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน ด้วยเหตุผลที่ว่า พนักงานมีการทำงานดี และต้องรับผิดชอบหน้าที่เพิ่มขึ้น พิจารณาจากความสามารถและความเหมาะสมกับตำแหน่ง
(2) ตำแหน่งผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ผู้ตรวจสอบด้านพลังงาน บริษัทฯ กำหนดจ่ายค่าตำแหน่งให้ในอัตรา 300 – 1,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน โดยให้พนักงานมีการอบรมเพิ่มเติมจนได้วุฒิบัตร มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นค่าตอบแทนการทำงานที่มากขึ้นจากเดิมที่ทำอยู่
หากลูกจ้างที่รับเข้ามาทำงานมีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่งให้ตามที่กำหนดไว้ แต่ลูกจ้างบางรายบริษัทฯ จะส่งไปอบรมเพิ่มเติมเมื่อได้รับวุฒิบัตรแล้วกลับมาทำงาน บริษัทฯ ก็จะพิจารณาการจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้ตามที่กำหนด
(3) ตำแหน่งผู้ตรวจประเมิน ISO หัวหน้าฝ่ายตรวจประเมินมีลูกทีมในฝ่ายอีก ประมาณ 20 คน บริษัทฯ มอบหมายให้ลูกจ้างฝ่ายดังกล่าวทั้งหมดเป็นผู้ดูแลระบบการจัดการขององค์กร ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ในการตรวจประเมินระบบการจัดการในองค์การตามแผนที่บริษัทฯ กำหนดไว้คือเดือนละ 1 ครั้ง โดยบริษัทฯ กำหนดให้เป็นค่า KPI ของลูกจ้างในฝ่ายดังกล่าว คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจประเมินระบบการจัดการขององค์การจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้าในใจเรื่องที่จะตรวจประเมิน บริษัทฯ จึงจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินภายในโดยเชิญวิทยากรฝึกอบรมจากภายนอกมาให้ความรู้ เพื่อให้ลูกจ้างนำความรู้มาใช้ในการทำงาน และออกวุฒิบัตรให้เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้จ่ายเงินค่าตำแหน่งให้กับลูกจ้างที่เป็นผู้ตรวจประเมินเพราะเหตุว่าลูกจ้างมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น มีงานเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำอยู่
เมื่อข้อเท็จจริง คือ เงินค่าตำแหน่งของลูกจ้างทั้ง 3 ประเภท บริษัทฯ จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตามความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสมกับตำแหน่ง และการเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยจ่ายเป็นจำนวนที่แน่นอนเป็นประจำเท่ากันทุกเดือนตามที่บริษัทฯ กำหนดอัตราไว้
และบริษัทฯ ไม่ได้นำการลางาน การขาดงานหรือการมาทำงานสายของลูกจ้างมาเป็นเงื่อไขในการจ่ายเงินค่าตำแหน่ง ดังนั้น เงินค่าตำแหน่งที่บริษัทฯ จ่ายให้ลูกจ้างทั้ง 3 ประเภทข้างต้น จึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างวึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง จึงถือว่าเงินค่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นค่าจ้าง (ตามนัยพิพากษาฎีกาที่ 5024/2548)
สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR
2. หากพนักงานไม่ได้ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว บริษัทฯ สามารถเลิกการจ่ายเงินค่าตำแหน่งได้หรือไม่?
ตอบ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ได้กำหนดความหมายของสภาพการจ้างไว้ในมาตรา 5 กล่าวคือ สภาพการจ้าง หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างงานหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน เงินค่าตำแหน่งที่บริษัทฯ จ่ายให้กับพนักงานถือเป็นสภาพการจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างมิได้ทำงานในตำแหน่งดังกล่าวลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินค่าตำแหน่งหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับว่านายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันไว้อย่างไร
ระบบลงเวลาทำงานออนไลน์
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
3. เมื่อพนักงานทำงานล่วงเวลา บริษัทฯ ต้องนำเงินค่าตำแหน่งมาคำนวณด้วยหรือไม่?
ตอบ จะเห็นได้ว่าเงินค่าตำแหน่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 5 แห่งพรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เมื่อลูกจ้างที่ได้รับค่าตำแหน่งมีการทำงานล่วงเวลา บริษัทฯ จึงต้องนำเงินค่าตำแหน่งไปรวมเข้ากับอัตรา เงินเดือนที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือนเพื่อนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างด้วย
สรุป
เพื่อความชัดเจนทางบริษัทควรมีประกาศหรือกำหนดระเบียบเงื่อนไขว่า การจ่ายเงินเพื่อเป็นสวัสดิการหรือเงินเพื่อการจูงใจมีข้อกำหนดอย่างไร แสดงเอกสารหรือหลักฐานอะไรบ้าง กรณีใดบ้างที่จะไม่ได้รับเงินตามเงื่อนไขดังกล่าว เช่น เบี้ยขยัน จะต้องไม่มาทำงานสาย ไม่ลากิจ ไม่ลาป่วย ไม่ขาดงาน ยกเว้นการใช้งานวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีหลักฐานในการยืนยัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : กฏหมายแรงงาน