ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) คือ
ปัญญาประดิษฐ์ คือ เครื่องจักร (Machine) ที่มีฟังก์ชันที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง
โปรแกรมเงินเดือน BeeHR ช่วยจัดการเงินเดือนให้คุณ ไม่ต้องกลัวว่าเงินเดือนนี้จะสะดุดหรือล่าช้า
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ กับงาน HR
ในยุคที่เทคโนโลยีนวัตกรรม เข้ามามีอิทธิพลต่อโลกการทำงานทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะกับองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ สถานประกอบการ หรือแม้แต่เหล่าสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการทรัพยากรบุคคล หรือ Human Resource Development (HR) ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี นวัตกรรมแห่งยุคอย่าง ‘AI ปัญญาประดิษฐ์’ โดยตรง เพราะในการนำองค์กรไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม ที่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำงานในฝ่าย HR จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเฟ้นหาพนักงานในบริษัทที่มี DNA ตรงกับวัฒนธรรมองค์กร ไม่ใช่แค่มีความรู้ความสามารถตรงตามตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น ซึ่งในยุคนี้ AI ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยได้
ประเด็นการถูกหุ่นยนต์ Disrupt หรือแย่งงานในอนาคต กำลังถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเราก็เคยพูดถึงสายงานทรัพยากรบุคคล (Human Resource – HR) ด้วยว่ากำลังเป็นอีกหนึ่งสายงานที่อาจถูก Disrupt ด้วยหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์เช่นกัน
ขณะเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลาในการกลั่นกรองประวัติผู้สมัครงาน ซึ่งอาจมีจำนวนมาก จนกระทั่งสามารถเฟ้นหาผู้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งงานเฉพาะด้านนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
AI ปัญญาประดิษฐ์นี้ สร้างประโยชน์ให้มนุษย์มากมาย ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงานคน และมีความแม่นยำสูงด้วย สามารถใช้กระบวนการคิดในเรื่องซับซ้อนได้ ทำให้สามารถตัดสินใจแทนมนุษย์ในเรื่องที่ยากๆได้ และในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการทำธุรกิจกันแล้ว
สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR
สาเหตุที่ต้องใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยงาน HR
สาเหตุที่สายงานทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย ไม่ใช่ด้วยสาเหตุเพียงเพราะหุ่นยนต์สามารถทำงานได้เร็วกว่า หรือประสิทธิภาพดีกว่ามนุษย์เท่านั้น แต่เพราะสายงานนี้เป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูล (Data) ไปวิเคราะห์และใช้งาน ไม่ว่าจะในแง่ของการรับคนเข้าทำงาน ประเมินผลงาน หรือหาจุดบกพร่องต่างๆ ในการทำงาน
กระบวนการประเมินผลงาน (Performance Review) เป็นหนนึ่งในภาระหน้าที่สำคัญของ HR เพราะเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน ทั้งการปรับเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง พัมนาทักษะเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งพิจารณาให้ออกงาน แต่ในความเป็นจริง ผลสำรวจและงานวิจัยหลายชิ้นกลับชี้ไปทางตรงข้าม อย่างผลสำรวจอย่าง Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหางานที่ชี้ว่า มีบริษัทเพียง 2% เท่านั้นที่รู้สึกว่ากระบวนการประเมินผลงานที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิภาพ ขณะที่รายงานจากบริษัทคอนซัลท์ McKinsey ก็เผยว่าบริษัทกว่า 2 ใน 3 ได้เปลี่ยนแล้วหรือกำลังจะเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลงาน ด้วยเหตุผลด้านความเป็นธรรม
ด้วยเหตุที่การประเมินผลงานมักมีประเด็นเรื่องอคติ ความชอบ หรือไม่ชอบใจรวมถึงการเมืองภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้หลายบริษัทเริ่มนำปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาเป็นตัวช่วยในการประเมินผลงานของพนักงานแล้ว อย่างกรณีของ IBM และที่น่าสนใจคือวิธีการของ IBM ไม่เพียงแค่นำผลงานที่ทำสำเร็จ และล้มเหลวในอดีตมาเป็นตัวชี้วัดเท่านั้น แต่ยังประเมินถึงแนวโน้มผลงานในอนาคตด้วย
IBM ใช้ Watson ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ของตัวเองในการวิเคราะห์ และคาดการณ์ว่าพนักงานคนหนึ่งมีแนวโน้มจะทำงานที่ยากขึ้นหรือท้าทายมากขึ้นได้แค่ไหน รวมถึงทักษะใหม่ๆ ที่พนักงานคนหนึ่งมีแนวโน้มหรือกำลังพัฒนา IBM บอกว่าความแม่นยำของ Watson ในการคาดเดาผลงานในอนาคตสูงถึง 96%
นอกจากการประเมินผลงานแล้ว Watson ยังช่วยคาดเดาด้วยว่าพนักงานคนไหนมีแนวโน้มจะลาออกในอนาคต และควรจะโน้มน้าม หรือช่วยเหลือพนักงานคนนั้นอย่างไร เพื่อให้เค้าอยู่บริษัทต่อ
แต่ว่าเคสนี้ปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้เข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจแทน หรือมีบทบาทแทนที่มนุษยืเสียทีเดียว แต่เป็นการช่วยลดภาระ ลดเวลา และลดอคติที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการตัดสินใจ เพราะท้ายที่สุดแล้วก้เป็นฝ่าย HR เอกงที่จะเลือกเชื่อ หรือไม่เชื่อคำแนะนำของปัญญาประดิษฐ์อยู่ดี ซึ่งกรณีของ IBM หัวหน้าฝ่าย HR ก็ยอมรับว่าไม่ใช่หัวหน้าทุกคนจะทำตามคำแนะนำของ Watson แต่ส่วนใหญ่ที่ทำมักได้ผลลัพธ์ดีเสมอ
แน่นอนปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวปัญญาประดิษฐ์เองก็มีอคติได้ และกระบวนการการตัดสินใจของมันก็เหมือนกล่องดำ (Blackbox) ที่ไม่มีใครรู้ว่าอัลกอริทึมข้างในทำงานอย่างไร และผลของการตัดสินใจนี้ออกมาได้อย่างไร แต่ปัญหานี้ป้องกันและแก้ไขได้ อย่างการออกแบบอัลกอริทึมที่เป็นกลาง และการคัดกรองข้อมูลให้มีอคติ (เช่น ต่อสีผิว หรือเพศ) ให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย เพื่อไม่ให้อคติของคนถูกผลิตซ้ำ โดยปัญญาประดิษฐ์
หรืออย่างในกรณีของ IBM ไม่ใช่แค่ออกแบบอัลกอริทึมให้เป็นกลางเท่านั้น แต่ทีมงานทดสอบยังสร้างความมั่นใจให้กับหัวหน้าทีม (ที่สงสัยในความน่าเชื่อถือและการทำงานของปัญญาประดิษฐ์) ด้วยการเปิดอัลกอริทึม และนั่งอธิบายให้ฟังว่ากระบวนการการตัดสินใจของ Watson มีที่มาที่ไปอย่างไร
สนใจโปรแกรมเงินเดือน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี้!
สรุป
อันที่จริงอีกหนึ่งวงการที่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลผลงาน ก่อนนำมาประมวลผล และประเมินด้วยปัญญาประดิษฐ์มานานแล้ว คือวงการฟุตบอล ผลงานของนักฟุตบอลในสนาม ไม่ว่าจะเป็นจำนวนประตู การแย่งบอล ระยะทางที่วิ่ง ความเร็วเฉลี่ย ไปจนถึงข้อมูลเชิงกายภาพ และพฤติกรรมนักเตะนอกสนาม ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดแผนการเล่น ไปจนถึงพิจารณาค่าตัวของนักเตะเมื่อมีการย้ายทีมด้วยซ้ำไป