Home » บทความ » HR ต้องจัดการอย่างไร เมื่อพนักงานเป็นหนี้สินเกินกำลัง

HR ต้องจัดการอย่างไร เมื่อพนักงานเป็นหนี้สินเกินกำลัง

HR หลายๆ ที่ คงได้ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ที่ต้องคอยรับโทรศัพท์ที่เจ้าหนี้โทร.มาทวงหนี้กับพนักงานบริษัท หรือองค์กรที่ HR ทำงานอยู่ แต่เนื่องด้วยพนักงานคนนั้นไม่ได้อยู่ในบริษัท ณ เวลานั้น หรือว่ามีความจำเป็นต้องออกไปพบลูกค้าไม่ค่อยได้อยู่ประจำที่ออฟฟิศ HR อาจจำเป็นต้องรับเรื่องแทน และต้องส่งต่อพนักงานต้นเรื่องเสมอ แต่พนักงานยังนิ่งเฉย HR ถูกเจ้าหนี้ที่โทรมาใส่อารมณ์ พูดจาไม่ดี มีการข่มขู่ หรืออาจมีมีจดหมายจากกรมบังคับคดีให้หักเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระหนี้ส่งมาถึงบริษัท

HR หลาย ๆ คนอาจจะต้องประสบปัญหานี้ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เรื่องนี้สามารถจัดการได้ เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน และกับองค์กรเอง หรือ HR เองเมื่อประสบเหตุการณ์นี้จะต้องจัดการอย่างไร วันนี้ BeeHR มีวิธีจัดการปัญหานี้มาฝากกันค่ะ

โปรแกรมเงินเดือน
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601

ผลกระทบที่อาจมีผลกับองค์กร และพนักงาน

  1. เคยเป็นพนักงานที่ทำงานดี ทำงานคล่องแคล่ว แต่อยู่มาวันหนึ่งการทำงานกลับเปลี่ยนไป ดูร้อนรน คิดมาก หวาดระแวง อาจจะเกิดจากเหตุผลเป็นหนี้ไม่มีกระจิตกระใจทำงาน ผลงานที่ออกมาก็อาจจะไม่ดี เจ้านายก็ตำหนิ
  2. อาจเกิดหนี้สินล้นพ้นตัว จนอาจจะต้องลาออกจากงาน เพราะต้องการหนีหนี้ หรือหลบเจ้าหนี้
  3. อาจมีผลกระทบทางอ้อม เช่น เพื่อนร่วมงานที่ต้องแบกรับงานแทน หรือต้องคอยตามแก้งาน
  4. หัวหน้างานไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมอยู่ ๆ ผลงานที่เคยดี กลับตกลง งานเกิดความผิดพลาด หรือบางครั้งงานก็ไม่เสร็จตรงตามเวลา
  5. ฝ่ายบุคคล หรือธุรการต้องคอยรับโทรศัพท์จากเจ้าหนี้ที่โทร.มาบ่อยครั้ง มีการข่มขู่จากเจ้าหนี้ รบกวนการทำงาน หรือบางครั้งอาจมีการแสดงอารมณ์ตอบโต้ที่รุนแรง
  6. บางเหตุการณ์อาจมีเจ้าหนี้มาดักรอพนักงานหน้าบริษัท สถานการณ์นี้อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด อย่างการใช้ความรุนแรง

วิธีการจัดการปัญหา

HR ต้องทำอย่างไร เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องแก้ไขทีละประเด็น อย่างแรกต้องทำความเข้าใจว่าบางคนเป็นหนี้มาจากเหตุผลที่จำเป็น บางคนเป็นหนี้จากความไม่รู้ ความผิดพลาด แต่เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ HR ควรดำเนินการอย่างไร

เมื่อรู้ว่าพนักงานมีหนี้สิน มีหมายบังคับคดี บริษัทสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?

คำตอบก็คือ กรณีนี้ไม่ถือเป็นความผิด ไม่สามารถเลิกจ้างได้ เพราะไม่ได้กระทำผิดระเบียบของบริษัท แต่ก็มีกรณีที่จะทำให้บริษัทเลิกจ้างได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • กรณีที่ 1 ถ้าพนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง ทำงานผิดพลาด สามารถลงโทษได้ตามกรณีนั้น ๆ
  • กรณีที่ 2 หากพนักงานทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือทรัพย์สินบริษัท อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบตามความเหมาะสม แต่ต้องเป็นไปตามภายใต้กฏหมายกำหนด

สามารถดำเนินการหักเงินเดินพนักงาน เพื่อชำระหนี้ได้หรือไม่ ?

เมื่อได้จดหมายจากกรมบังคับคดีเกี่ยวกับการให้หักเงินเดือนพนักงาน HR ต้องพิจารณา 3 กรณีนี้

  • กรณีที่ 1 พนักงานพ้นสภาพการเป็นพนักงาน หรือลาออกไปแล้ว HR ต้องออกหนังสือแจ้งต่อกรมบังคับคดี เช่น อ้างอิงหนังสือ … จากกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ … ถึงบริษัท … ขอชี้แจ้งว่า นาย/นาง/นางสาว … ได้พ้นสภาพพนักงาน โดยลาออกไปตั้งแต่วันที่ … เป็นต้นค่ะ
  • กรณีที่ 2 พนักงานที่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท ไม่สามารถหักเงินเดือนตามกรมบังคับคดีได้ HR ต้องออกหนังสือชี้แจงต่อกรมบังคับคดีด้วย เช่น อ้างอิงหนังสือจากกรมบังคับคดี ฉบับที่ … เลขที่ … เมื่อวันที่ … ถึงบริษัท … โดยมีคำสั่งให้ทางบริษัทฯ หักเงินเดือนพนักงาน นาย/นาง/นางสาว … ขอชี้แจงว่าพนักงานมีเงินเดือนบวกรายได้อื่น ๆ ไม่ถึง 20,000 บาท จึงขอชี้แจงมา ณ ที่นี้ เป็นต้นค่ะ

หมายเหตุ

  • หากพนักงานมีเงินโบนัสจะต้องถูกหัก คิดเป็น 50% ของโบนัสที่พนักงานจะได้รับ
  • หากพนักงานมีค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่าคอมมิชชั่น หรือเงินตอบแทนอื่น ๆ จะถูกหัก 30% ของเงินที่จะได้รับ
  • กรณีที่ 3 พนักงานเงินเดือนเกิน 20,000 บาท หนังสืออายัดจากกรมบังคับคดีจะใช้คำว่า “อายัดเงินเดือนโดยเหลือให้ลูกหนี้เดือนละ 20,000 บาท หมายความว่า หากพนักงานมีเงินเดือน 50,000 บาท จะถูกหักไป 30,000 บาทและเหลือให้ใช้ 20,000 บาท (เนื่องจากกฏหมายกำหนดเพียงว่าเงินเดือนที่ไม่เกิน 20,000 บาท ไม่อยู่ในคงามรับผิดแห่งการบังคับคดี แต่ไม่ได้มีการกำหนดว่าถ้าเงินเดือนเกิน 20,000 บาท จะต้องหักที่เท่าไหร่) HR ควรแนะนำให้พนักงานที่เป็นหนี้เจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่บังคับคดี เพื่อขอลดเงินอายัดเป็นการด่วนนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ

ทั้งนี้ ทางฝ่ายนายจ้าง หรือ HR (ถือเป็นตัวแทนนายจ้าง) จะต้องช่วยดำเนินการหักเงินเดือนพนักงาน ไปจนกว่าจะครบหนี้ และมีหมายถอนอายัดมาจากทางกรมบังคับคดี จึงถือเป็นที่สิ้นสุด

ปรึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดการพนักงาน

สรุป

เรื่องราวซับซ้อนมากมาย แต่เรื่องหนี้สินของพนักงานยังไม่จบแค่นี้ HR ยังต้องมีอะไรทำอีกเยอะ เช่น เจอพวกเจ้าหนี้ข่มขู่จะทำอย่างไร ทำอย่างไรให้พนักงานสามารถใช้หนี้ได้ และทำอย่างไรไม่ให้เป็นหนี้

เรื่องเงินเดือนที่เป็นปัญหากวนใจของ HR หรือคนทำเงินเดือน เรามีโปรแกรมเงินเดือนดี ๆ มาแนะนำ โปรแกรมเงินเดือน ออนไลน์ คิดเงินเดือนเร็ว คำนวณเงินหักแม่นยำ เหมาะกับธุรกิจยุคใหม่ สนใจติดต่อ BeeHR หรือโทร. 02-551-2097 กด 601

 

เพิ่มเพื่อน .. เพื่อติดตามข่าวสารของเรา