การทำงานล่วงเวลา หรือการทำ OT ถือเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องพบเจออยู่บ่อย ๆ แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลาย ๆ คน ยังไม่รู้ว่าการทำงานล่วงเวลานั้นมีวิธีการคิด OT หรือผลตอบแทนที่คุณควรได้รับจะได้อย่างไร รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ควรรู้ เรียกได้ว่าเป็นผลประโยชน์ของคุณเอง รู้ไว้จะได้ไม่โดนเอาเปรียบ วันนี้เรามีวิธีการคำนวณโอทีมาฝากให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ
โปรแกรมลงเวลาเข้า – ออกงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็ว
สมัครใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ของการทำโอทีตามกฏกระทรวงแรงงาน
ในกรณีที่ต้องทำงานล่วงเวลามากกว่าสองชั่วโมง นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อย 20 นาที แต่ถ้าหากเป็นงานที่จำเป็นที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หรืองานฉุกเฉินก็สามารถทำต่อไปได้ โดยนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ของการทำโอทีตามกฏกระทรวงแรงงาน
หากคุณทำงานล่วงเวลา เกินเวลาเลิกงานตามปกติ เช่น ปกตินายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างเข้างานเวลา 09.00 น. และเลิกงานเวลา 18.00 น. แต่คุณต้องทำงานเกินเวลาจนถึง 20.00 น. คุณจะต้องได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับวันทำงานปกติไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงที่คุณได้รับตามปกติ ส่วนวันหยุด เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คุณจะต้องได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงที่คุณได้รับตามปกติ โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
1. กรณีเป็นพนักงานรายเดือน
สูตรการคำนวณ >> (เงินเดือนหารสามสิบ หารชั่วโมงทำงานปกติ) x 1.5 หรือ 3 เท่า x จำนวนโอทีที่ทำ
ตัวอย่างวิธีการคำนวณ >> (15,000 / 30 /8) x 1.5 หรือ x 3 x จำนวนโอทีที่ทำ
หลังจากคำนวณตามสูตรจะได้ค่าทำโอที
- กรณี x 1.5 เท่า จะได้ 93.75 บาท/ชั่วโมง จากนั้น x จำนวนโอทีที่ทำ
- กรณี x 3 เท่า จะได้ 187.5 บาท/ชั่วโมง จากนั้น x จำนวนโอทีที่ทำ
สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR
2. กรณีเป็นพนักงานรายวัน
สูตรการคำนวณ >> (ค่าจ้างต่อวัน หารชั่วโมงการทำงานปกติ) x 1.5 หรือ 3 เท่า x จำนวนโอทีที่ทำ
ตัวอย่างวิธีการคำนวณ >> (500 / 30) x 1.5 หรือ x 3 จำนวนโอทีที่ทำ
หลังจากคำนวณตามสูตรจะได้ค่าทำโอที
- กรณี x 1.5 เท่า จะได้ 25 บาท/ชั่วโมง จากนั้น x จำนวนโอทีที่ทำ
- กรณี x 3 เท่า จะได้ 50 บาท/ชั่วโมง จากนั้น x จำนวนโอทีที่ทำ
ในกรณีที่คุณต้องมาทำงานในวันหยุดจะมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ลูกจ้างที่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุด ไม่น้อยกว่า 1 เท่า
สูตรการคำนวณ >> (เงินเดือนหารสามสิบ หารชั่วโมงการทำงานปกติ) x 1 เท่า x จำนวนชั่วโมงการทำงาน
ตัวอย่างวิธีการคำนวณ >> (15,000 / 30 /8) * 1 * 8
3. ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า
สูตรการคำนวณ >> (ค่าจ้างต่อวันหารชั่วโมงทำงานปกติ) x 2 เท่า x จำนวนชั่วโมงการทำงาน
ตัวอย่างวิธีการคำนวณ >> (500 /8) * 2 * 8
สนใจโปรแกรมเงินเดือน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี้!
สรุป
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวิธีการคำนวณโอที ที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ เพื่อประโยชน์ของตนเอง และเราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ เพื่อให้คุณรักษาผลประโยชน์ในการทำงานของตัวเองกันได้หลังจากนี้