นอกจากการจ้างพนักงานประจำ หรือที่เรียกว่า Full-Time แต่หลาย ๆ หน่วยงานก็มักเลือกใช้บริการบรรดาพนักงาน Part-Time หรือคนที่ทำงานเป็นช่วงเวลา ไม่ได้มีสัญญาการทำงานระยะยาว ส่วนหนึ่งเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายกับงานบางประเภท ที่ไม่จำเป็นต้องใช้คนภายในหน่วยงานให้เสียวเวลามากนัก
แต่หลายครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจ้างงานพาร์ทไทม์ คือ พวกเขามักทิ้งงานไปเฉย ๆ ไม่ได้บอกกล่าว หรือเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น ส่งผลให้งานมีปัญหา ไม่เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วแบบนี้จะเลือกจ้างงานพาร์ทไทม์ยังไงไม่ให้โดนเท แถมได้คนทำงานที่ตรงสเป็ค วันนี้ BeeHR นำเทคนิคดี ๆ มาฝากกัน
ระบบจัดการพนักงาน
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
ทริคการจ้างพนักกงานพาร์ทไทม์
1. แจ้ง หรือบอกรายละเอียดงาน หน้าที่ความรับผิดชอบให้ครบถ้วน
สิ่งแรกที่นายจ้างควรทำ คือ บอกรายละเอียดงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบให้ครบถ้วน ว่าการเข้ามาทำงานเป็นพนักงานพาร์ทไทม์นั้นมีหน้าที่อะไรบ้าง ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นหลักฐานเทื่อพนักงานพาร์ทไทม์นั้นไม่ได้ทำตามรายละเอียดที่กำหนด หรือระบุเอาไว้
อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้กับคนที่เข้ามาทำงานพาร์ทไทม์ด้วยว่า รับรายละเอียดของเนื้องานได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการแจ้งรายละเอียดต้องลงเรื่องของผลตอบแทนเอาไว้เสมอ เป็นการยืนยันและความสบายใจทั้ง 2 ฝ่าย ว่าไม่มีความลับปกปิดต่อกัน
2. ทำสัญญาการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร และพนักงานพาร์ทไทม์เซ็นทำสัญญา
การเซ็นสัญญาทำงานถือเป็นข้อผูกมัด ที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งฝ่ายผู้จ้างและผู้รับจ้าง ว่าต้องดำเนินการตามรายละเอียดที่ระบุในสัญญาอย่างชัดเจนที่สุด
ทั้งนี้การเขียนรายละเอียดสัญญาต้องให้ฝ่ายผู้รับจ้างศึกษาข้อกำหนด ระเบียบการทำงานต่าง ๆ อย่างเข้าใจ พร้อมทั้งย้ำเน้นว่าเมื่อเซ็นสัญญายืนยันเรียบร้อยแล้วต้องทำตามกฏอย่างถูกต้องเท่านั้น เพื่อที่ทางฝั่งผู้จ้างจะไม่เกิดปัญหาการทิ้งงานตามมาภายหลัง และยังเป็นการยืนยันของทางผู้รับจ้างด้วยว่ายินดีที่จะรับผิดชอบงานตามที่ผู้จ้างมอบหมายให้ทำ
3. ตรวจสอบประวัติการทำงาน และมีการสัมภาษณ์อย่างละเอียด
การรับพนักงงานพาร์ทไทม์เพื่อเข้าทำงานไม่ใช่แค่ใครที่สมัครเข้ามาก็รับทุกคนเข้าทำงาน การจ้างงานที่ดีควรมีการตรวจสอบประวัติทั้งในด้านการเรียน และการทำงานให้ครบถ้วน ดูพฤติกรรมต่าง ๆ ว่าเหมาะกับการทำงานมากน้อยแค่ไหน ไม่ลาออกจากงานบ่อย ไม่มีประวัติเกเร หรือสร้างปัญหาให้กับการทำงานที่เดิม
รวมถึงควรมีการสัมภาษณ์เพื่อรับรู้ถึงทัศนคติในการทำงานด้วย การสัมภาษณ์ไม่ใช่แค่ทำให้เป็นพิธีเท่านั้น แต่ต้องทำอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหากเลือกคนนี้เข้ามาทำงานแล้วจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ในงาน และความเสียหายต่อองค์กร
4. มอบสวัสดิการบางอย่างเพื่อเป็นเหตุจูงใจในการทำงาน
หลายหน่วยงานมักมองว่าพนักงานพาร์ทไทม์ ไม่ได้มีการเข้างานเป็นระยะเวลาที่แน่นอน ไม่ได้ทำงานครบถ้วนตามกฏหมายแรงงานปกติ จึงไม่จำเป็นต้องให้สวัสดิการใด ๆ แต่หากมองว่าอันนี้เป็นเรื่องของมนุษยธรรม และความมีเมตตากับพนักงานพาร์ทไทม์ บางทีอาจมีสวัสดิการเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้พนักงานพาร์ทไทม์มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น หรืออาจมีการให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากเดิม เป็นการตอบแทนความคุ้มค่ากับการทุ่มเทการทำงานอย่างขยันขันแข็ง เช่น โครงการช่วยเหลือเมื่อเกิดการเจ็บป่วย การทำประกันชีวิต เทศกาลก็มีเงินพิเศษให้ กรณีที่เป็นร้านอาหารหากขายอาหารไม่หมดก็แบ่งปันให้กลับไปทานที่บ้าน เป็นต้น
5. มีการยืดหยุ่นการทำงานบ้าง ต้องไม่แข็งเกินไปทุกเรื่อง
พนักงานพาร์ทไทม์ส่วนใหญ่ คือ นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการทำงานพิเศษในช่วงเวลาว่าง หรือวันหยุด ในฐานะการเป็นผู้จ้างงานที่ดี และอยากให้พนักงานพาร์ทไทม์อยู่กับคุณไปนาน ๆ ก็ต้องมีการยืดหยุ่นกฏเกณฑ์บางข้อที่ไม่หนักเกินไป เพื่อให้รู้สึกว่าพวกเขาได้รับความเมตตา จะช่วยให้เกิดความรัก และความเอาใจใส่ในงานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งพนักงานขอเข้างานช้าเนื่องจากติดธุระก็ว่ากันไปตามเหตุผลสมควร ขอเลิกงานก่อนเวลาก็ถามเหตุผล ไม่ใช่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามข้อบังคับทั้งหมด
6. วัดผลการทำงานอยู่เสมอ
การตรวจสอบและวัดผลการทำงานจะช่วยให้ผู้จ้างรับรู้ได้ว่า การทำงานของพนักงานพาร์ทไทม์คนนี้เป็นอย่างไร อีกทั้งตัวของพนักงานพาร์ทไทม์เอง ก็จะได้รู้ว่าปฏิบัติได้เหมาะสมแล้วหรือยัง เป็นการรีเช็คตนเองของทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อให้เข้าในวัตถุประสงค์ของงานที่ตรงกน การตรวจสอบ และวัดผลมีด้วยกันหลายวิธี เช่น ให้หัวหน้างานประเมินการทำงานเป็นรายเดือน มีการทำแบบทดสอบประเมินตนเอง สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานในแต่ละวัน การเข้า – ออกงาน ความขยันขันแข็ง ความตั้งใจในการเรียนรู้งาน เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : วิธีคำนวณโอที ตามหลักกระทรวงแรงงานที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ !!
ปรึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดการพนักงาน
สรุป
ในยุคสมัยนี้เข้าใจดีว่าการรับแต่พนักงานฟูลไทม์ เพียงอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจหลาย ๆ ประเภท แต่การที่จะมองหาพนักงานพาร์ทไทม์ก็จำเป็นจะต้องมีการคัดเลือก รวมถึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน ไม่อย่างนั้นหากคิดทั้ง 2 มุม ก็คงไม่มีใครอยากเข้ามาทำงานพาร์ทไทม์ หรือหากรับเข้ามาแล้วก็ทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ องค์กรเองก็ไม่สามารถหาคนเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานต่าง ๆ ได้ หากทุกอย่างลงตัวนั่นเท่ากับว่าทั้งผู้จ้าง และผู้รับจ้างก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบ
หากองค์กรของคุณมีความสนใจในการใช้ระบบจัดการพนักงาน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร จะตรงกับการทำงานในองค์กรของคุณหรือไม่ เรายินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำ โทร. 02-551-2097 ต่อ 601 หรือขอทดลองใช้ระบบฟรีได้ที่นี้ คลิก!!