วันหยุด หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้าง หยุด ซึ่งสามารถแบ่งตาม พ.รบ. คุ้มครองแรงงานวันหยุดตามกฏหมายแรงงาน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยที่บริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท ให้แก่พนักงานประจำ ยกเว้นลูกจ้างประจำ รายชั่วโมง หรือตามผลงาน จะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ระบบจัดการพนักงาน
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
ประเภทวันหยุดตามกฏหมายแรงงาน
วันหยุดประเภทที่ 1 วันหยุดประจำสัปดาห์
วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน โดยที่จะหยุดวันไหนก็ได้ แล้วแต่ตกลงกันไม่จำเป็นวันเสาร์ – อาทิตย์
วันหยุดประเภทที่ 2 วันหยุดตามประเพณี
ไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป
วันหยุดประเภทที่ 3 วันหยุดพักผ่อนประจำปี
กรณีที่พนักงานทำงานมาแล้วครบ 1 ปี พนักงานมีสิทธิ์ได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละไม่น้อยกว่า 6 วัน อาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อ ๆ ไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดคราวเดียว 6 วันติดต่อกัน อาจแบ่งหยุดเป็นครั้ง ๆ ไปก็ได้
กรณีที่ต้องมาทำงานในวันหยุด
- ลูกจ้างที่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า
- ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยว่า 2 เท่า
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
- จะได้ค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดเพิ่มไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของอัตราจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
อ่านเพิ่มเติม : วิธีคำนวณโอที ตามหลักกระทรวงแรงงานที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ !!
ปรึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดการพนักงาน
ประเภทวันลาตามกฏหมายแรงงาน
วันลา หมายความว่า วันที่ลูกจ้างใช้สิทธิ์หยุดงานอันเนื่องจากเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยได้รับอนุญาตจากนายจ้าง เช่น ลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้ ลาเพื่อคลอดบุตร
ประเภทวันลา : ลาป่วย
เรื่องการลาป่วยกฏหมายกำหนดไว้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่เกิดการเจ็บป่วย จนไม่สามารถไปทำงานให้กับนายจ้างได้ จะได้มีโอกาสหยุดงานไปเพื่อรักษาตัว โดยไม่ถูกนับเป็นการขาดงาน หรือละทิ้งหน้าที่ โดยในกฎหมายได้ระบุไว้ว่า ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง นั่นหมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้จนกว่าจะหาย หรืออาการดีขึ้น แต่ถ้าหากลาป่วยเกิน 3 วัน นายจ้างมีสิทธิ์เรียกดูใบรับรองแพทย์ได้
ประเภทวันลา : ลาเพื่อทำหมัน
การลาในกรณีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การลาเพื่อทำหมัน กับ การลาเนื่องจากการทำหมัน โดยจะลากี่วันก็ได้ กฏหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ เพียงแต่ระยะเวลาในการลาต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ ไม่สามารถลาตามอำเภอใจได้
ประเภทวันลา : ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น
การลากิจนั้นกฏหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขในการลาเอาไว้เลย โดยมีเขียนไว้ว่าให้เป็นไปตามข้อบังคับการทำงาน นั่นย่อมหมายความว่านายจ้างจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขในการลาไว้อย่างไรก็ได้ โดยจะกำหนดว่าการลากิจนั้นลูกจ้างจะได้รับ หรือไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้รับบางส่วนก็ได้แล้วแต่นายจ้างจะกำหนด
ประเภทวันลา : ลาเพื่อรับราชการทหาร
วันลาเพื่อรับราชการทหาร กฏหมายกำหนดเอาไว้เพื่อให้สิทธิ์แก่ลูกจ้างที่ถูกเรียกระดมพล ไม่ว่าจะเป็นการเรียกระดมพลเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมก็ตาม โดยกฏหมายกำหนดให้นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้กับลูกในระหว่างที่ลาด้วย แต่ปีนึงต้องไม่เกิน 60 วัน
ประเภทวันลา : ลาเพื่อทำการฝึกอบรม
การลาเพื่อทำการฝึกอบรม การลาในกรณีนี้ คือ หากลูกจ้างต้องการที่จะเข้ารับการอบรม หรือเข้าสัมมนาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ หรือความสามารถของตนเอง กฏหมายก็ให้สิทธิ์ลูกจ้างลางานได้เช่นกัน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าการลาไปอบรมนั้นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการแรงงาน หรือสวัสดิการสังคม หรือเป็นการเพิ่มทักษะความชำนาญเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง หรือเป็นการสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดขึ้น โดยในการลาดังกล่าวลูกจ้างจำเป็นจะต้องแจ้งถึงเหตุที่ลาพร้อมแสดงเอกสารประกอบ(ถ้ามี) ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
ประเภทวันลา : ลาเพื่อคลอดบุตร
การลากรณีนี้ให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างหญิงเท่านั้น โดยลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ มีสิทธิ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มตั้งครรภ์เป็นต้นไป เช่น ลาเนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ไปฝากครรภ์ ตรวจรักษาครรภ์เตรียมตัวคลอด รวมไปถึงการลาเพื่อพักฟื้นหลังคลอด โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 90 วัน
สรุป
BeeHR หวังว่าบทความ HR ควรรู้ จัดการวันหยุด วันลา ให้ถูกต้องตามหลักกฏหมายแรงงาน จะมีประโยชน์ช่วยให้ HR จัดการวันหยุด และวันลา เพื่อที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รักษาสิทธิ์ของตัวเอง เพื่อการทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
สำหรับบริษัท หรือองค์กรที่กำลังมองหาผู้ช่วยในการจัดการงาน HR ทั้งการลงเวลาทำงาน การจัดการวันหยุดของพนักงาน ผู้ช่วยทำเงินเดือน รวมทุกงาน HR ได้ในระบบเดียว ให้ BeeHR ช่วยคุณ
หากองค์กรของคุณมีความสนใจในการใช้ระบบจัดการพนักงาน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร จะตรงกับการทำงานในองค์กรของคุณหรือไม่ เรายินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำ โทร. 02-551-2097 ต่อ 601 หรือขอทดลองใช้ระบบฟรีได้ที่นี้ คลิก!!