ในกรณีที่เราถูกเลิกจ้างแบบกะทันหัน หรือเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้เต็มใจออกจากงานเอง มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ซึ่งถ้าหากลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายกำหนด แต่ก็มีกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างงานลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย รวมทั้งลูกจ้างเองก็ไม่สามารถขอรับเงินทดแทนจากประกันสังคมได้ด้วย
โปรแกรม HR
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
เงินทดแทนกรณีว่างงาน
เงินทดทแนกรณีว่างงาน คือ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา โดยเมื่อผู้ประกันตนดำเนินการขึ้นทะเบียนว่างงานเรียบร้อยแล้ว และมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามข้อกำหนด สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิ์ให้ผู้ประกันตน
หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมกรณีว่างงาน
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ์ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย
ทั้งนี้ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรองรับการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมในบางอย่าง เช่น มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR
สาเหตุที่ถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิ์รับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกจ้างที่ออกจากงานแล้วว่างงาน โดยจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ตามข้อกำหนด กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มีการกระทำความผิดใด ๆ
แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำความผิด หรือมีเหตุผลบางประการที่เข้าข่ายเงื่อนไขทำให้นายจ้างสามารถให้ออกจากงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างจะไม่สามารถรับสิทธิ์ชดเชย หรือทดแทนใด ๆ ได้ ตามกรณีต่อไปนี้
1. ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างจากกรณีทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง มักเกิดขึ้นจากสาเหตุ เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตนเอง
2. จงใจทำให้นายจ้าง หรือบริษัทได้รับความเสียหาย
ลูกจ้างดำเนินการต่าง ๆ โดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัทถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิด โดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ถือว่าเป้นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง
การทำงานแต่ละที่ย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นหากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือการกระทำความผิดซ้ำ ๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิ์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
4. ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกัน 7 วันทำงานโดยไม่มีเหตุอันควร
ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีการแจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่สามารถติดต่อได้ต่อเนื่อง 7 วันทำงาน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ หรือว่าเข้าข่ายถูกเลิกจ้างได้โดยไม่ได้รับสิทธิ์ชดเชยใด ๆ
5. ประมาทเลิ่นเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง
ความประมาทเลิ่นเล่อ หมายถึง การกระทำใด ๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ นายจ้างที่ได้รับความเสียหายร้ายแรง จากความประมาทเลิ่นเล่อ ของลูกจ้างที่กระทำการใด ๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง ทั้งที่สามารถคาดการณ์เห็นได้ชัดว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างสามารถคาดการณ์เห็นได้ชัดว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างสามารถแจ้งเลิกจ้าง และไม่จ่ายค่าชดเชยกับลูกจ้างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
ลูกจ้างที่กระทำความผิด และถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิ์ให้ออกจากงานได้ทันทีโดยปริยาย และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชย หรือเงินทดแทนต่าง ๆ ได้
สรุป
ลูกจ้างที่กระทำความผิด และถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิ์ให้ออกจากงานได้ทันทีโดยปริยาย และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้อวขอค่าชดเชย หรือเงินทดแทนต่าง ๆ ได้
การถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นฝันร้ายของใครหลาย ๆ คน ยิ่งกรณีที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า อาจทำให้การใช้ชีวิตหลังออกจากนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ยิ่งการออกจากงานโดยมีความผิดติดตัว นอกจากจะเสียโอกาสในหน้าที่การงานแล้ว ยังเสียโอกาสในการรับสิทธิ์ประโยชน์ และความคุมครองต่าง ๆ ด้วย
การถูกเลิกจ้างอย่างกระทันหัน หรือเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้เต็มใจออกจากงานเอง มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ซึ่งหากการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับการชดเชยต่าง ๆ ตามกฏหมายกำหนด แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิด ฝั่งนายจ้างมีสิทธิ์ที่จะให้ออกจากงานได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยรวมทั้งลูกจ้างเองยังไม่สามารถขอรับเงินทดแทนจากประกันสังคมด้วย
อ่านเพิ่มเติม : หยุดงานเพราะ Covid-19 จะได้ค่าจ้างไหม ตอบข้อสงสัยของลูกจ้าง