สำหรับคนทำงาน เมื่อพูดถึงเรื่องกฎหมายแรงงาน หลายคนอาจมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว เพราะคิดว่าแค่ทำงานแลกกับค่าจ้างแค่นั้น นายจ้างให้สวัสดิการแค่ไหนก็เอาแค่นั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายแรงงานไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องสำคัญที่คนทำงานต้องรู้ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ของตนเอง และปกป้องสิทธิของตนเอง ไม่ให้นายจ้างมาเอาเปรียบเราได้
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์กรของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมถึงมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์กรต้องปฏิบัติต่อกัน ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน การใช้งาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ให้ได้รับผลประโยชน์ตามสมควร
โปรแกรมเงินเดือน BeeHR ช่วยจัดการเงินเดือนให้คุณ ไม่ต้องกลัวว่าเงินเดือนนี้จะสะดุดหรือล่าช้า
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
กฎหมายแรงงานพื้นฐานที่คนทำงานต้องรู้
กฎหมายแรงงานที่คนทำงานจำเป็นต้องรู้ มีอยู่หลายข้อที่สำคัญต่อการทำงาน มีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องรู้ หากเราไม่รู้กฎหมายแรงงานเลย ไม่เพียงแต่จะคุยกับคนทำงานด้วยกันไม่รู้เรื่อง แต่อาจจะทำให้เราเสียผลประโยชน์ เสียสิทธิที่เราควรจะได้ให้กับนายจ้างอีกด้วย วันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงขั้นพื้นฐานที่คนทำงานต้องรู้ มีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
1. บริษัทสามารถทดลองงานได้กี่วัน
แต่ละที่ แต่ละองค์กร แต่ละบริษัท มีระยะเวลาทดลองงานที่ไม่เท่ากัน บางบริษัท 3 เดือน บางบริษัท 4 เดือน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานระบุไว้ว่าการทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา โดยให้สิทธิ์นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ในกรณีที่ทำงานติดต่อกันไม่เกิน 119 วัน หากต้องการเลิกจ้างควรทำในช่วงเวลาดังกล่าว หากเกินในช่วงเวลาดังกล่าวจะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายแรงงาน
2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้กี่วัน
เมื่อเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หลายคนกังวลว่าอาจจะถูกเพ่งเล็งจากนายจ้าง โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน จะรู้สึกว่าไม่กล้าขอลาป่วยกับนายจ้าง ซึ่งกฎหมายแรงงานให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้ตามจริง แต่จะได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30วันทำงาน/ปี ดังนั้นนายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงินค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างป่วย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่นายจ้างมีสิทธิ์ให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ เมื่อลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
3. สิทธิ์ในการลาหยุดพักร้อน
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิ์ได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วัน โดยนายจ้างจะเป็นผ๔กำหนดวันหยุด หรือกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ และหากว่ายังไม่ได้ใช้วันหยุดในปีนั้น ก้สามารถทำข้อตกลงกันเพื่อสะสม หรือยกวันหยุดที่เหลือไปใช้ในปีถัดไป แต่บางบริษัทจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องใช้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมดในปีต่อปี หากใช้ไม่หมดให้ถือว่าสละสิทธิ์ ซึ่งข้อนี้ไม่ได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด เพราะเป็นการกำหนดเพื่อให้ลูกจ้างใช้สิทธิ์วันลาให้หมดเท่านั้นเอง
สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR
4. นายจ้างมีสิทธิ์บังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่
การทำงานล่วงเวลา หรือโอที (Overtime) คือ การทำงานในช่วงเวลาพิเศษ ที่นอกเหนือจากการทำงานในช่วงเวลาปกติ และต้องมาจากการทำงานที่เป็นไปด้วยความสมัครใจ นายจ้างไม่มีสิทธิ์บังคับให้ลูกจ้างทำงานโอทีได้ แต่คนสามารถทำงานได้เท่าที่จำเป็น เช่น หากเราไม่อยู่ทำงานต่อ จะทำให้งานนั้นเกิดความเสียหาย หรือไม่สามารถส่งมอบงานนั้นให้ลูกค้าได้ทันเวลา เราก็อาจจะต้องเสียสละเวลาสักเล็กน้อย เพื่อทำงานชิ้นนั้นให้เสร็จสิ้น ในลักษณะนี้แล้วไม่ถือว่าเป็นการบังคับ แต่เป็นความสมัครใจที่ลูกจ้างนั้นต้องให้ความร่วมมือ
5. การเลิกจ้างและอัตราค่าชดเชย
กรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน จนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลโดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง
กรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
หากคนทำงานต้องถูกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม คนทำงานจะได้รับความคุ้มครอง และชดเชยค่าเสียหาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- อัตราที่ 1 ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
- อัตราที่ 2 ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
- อัตราที่ 3 ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
- อัตราที่ 4 ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- อัตราที่ 5 ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
สรุป
การรับรู้ว่าเรามีสิทธิ์การทำงานเบื้องต้นอะไรบ้าง ที่เราควรจะได้รับจากการทำงาน ไม่เพียงแต่จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย แต่ยังช่วยให้เราได้เรียนรู้สิทธิและหน้าที่ในการทำงานอีกด้วย เพราะหากเราไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้เลย จะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเหตุผลเราจึงต้องทำตามกฎเกณฑ์ และสิ่งใดบ้างที่เราไม่สามารถทำได้