ในสถานการณ์ Covid-19 อาจทำให้ใครหลายคนต้องหยุดงาน หรือกักตัว แล้วแบบนี้เราจะยังได้เงินเดือนหรือค่าจ้างอยู่ไหม ลองมาดูกรณีตัวอย่างเป็นเคส ๆ กันค่ะ
ลูกจ้างต้องทำงานทุกวันถึงจะมีรายได้ แต่ในภาวะที่ Covid-19 เริ่มแพร่ระบาดเป็นวงกว้างขึ้น จนใครก็ต่างมีความเสี่ยงที่จะติดโรค หากเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือป่วยขึ้นมาก็อาจทำให้ถูกกักตัวหรือต้องหยุดงานจนขาดรายได้ วันนี้เราจึงมาแนะนำเป็น Case by Case ให้กับคนที่เป็นลูกจ้างทุกคนได้ดูว่า ตัวเองนั้นอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เพื่อตรวจเช็คว่าในกรณีนั้นจะได้รับค่าจ้างหรือไม่
โปรแกรมเงินเดือน BeeHR ช่วยจัดการเงินเดือนให้คุณ ไม่ต้องกลัวว่าเงินเดือนนี้จะสะดุดหรือล่าช้า
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601
กรณีที่ 1 โดนทางการกักตัว 14 วัน หลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ
ในกรณีนี้ใครที่เดินทางไปต่างประเทศ ในช่วงที่ Covid-19 กำลังแพร่ระบาด เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทยและถูกทางการกักตัว 14 วัน ถึงแม้ว่าจะไปทำงานไม่ได้เพราะเป็นคำสั่งของทางราชการ แต่นายจ้างก็ไม่ได้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ ลูกจ้างจึงไม่ได้รับค่าจ้างในกรณีนี้แต่อย่างใด โดยหากถูกกักตัว 14 วัน หรือว่าอาจจะนานกว่านั้น ก็จะไม่มีรายได้ทั้งหมด ยกเว้นว่าบงบริษัทอาจให้ใช้สิทธิ์ลาป่วย ลาพักร้อน ก็ยังได้รับค่าจ้างในช่วงที่อยู่ระหว่างการกักตัว
กรณีที่ 2 ลูกจ้างมีอาการป่วย ต้องไปพบแพทย์
ในกรณีที่ 2 เมื่อลูกจ้างรู้สึกป่วย คือ มีไข้ มีอาการทางเดินหายใจ หลังจากที่ไปพื้นที่แพร่ระบาด หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อมา จนต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างการว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ เราสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วยได้ ถ้าต้องการค่าจ้างแบบเต็มจำนวนหรือหากสิทธิ์ลาป่วยหมด ก็สามารถใช้สิทธิ์ลาพักร้อนแทนได้
สำหรับคนที่กลับมาจากต่างประเทศ แต่ไม่แสดงอาการป่วย หรือบางคนที่อยู่ในประเทศไทย แต่สงสัยว่าตัวเองอาจจะติดเชื้อ ถ้านายจ้างให้ไปตรวจหาโรคแล้วไม่ไป แต่มาทำงานจนทำให้คนอื่นมีความเสี่ยงตามไปด้วย ถือว่าฝ่าฝืนระเบียบ คำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง เรื่องนี้สามารถทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ ดังนั้นถ้านายจ้างให้ไปตรวจหาโรคก้ควรไปตรวจ พื่อความปลอดภัยในหน้าที่การงานของตนเองและชีวิตของผู้อื่น
สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR
กรณีที่ 3 หยุดอยู่บ้านเฝ้าดูอาการ 14 วัน
ในกรณีที่ 3 นี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
ค่าจ้าง : ลูกจ้างมีความเสี่ยงว่าจะติด Covid-19 แล้วนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างต้องกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ 14 วัน หากต้องการค่าจ้างเต็มจำนวนอาจตกลงกับนายจ้าง ด้วยการขอทำงานอยู่บ้าน หรือใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือสิทธิ์ลาพักร้อน เพราะหากว่าหยุดอยู่เฉย ๆ นายจ้างก้ไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้ หรือนายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน No Work No Pay ได้
ประกันสังคม : ในกรณีที่ลูกจ้างมีประกันสังคม และไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงนี้ จะถือว่าเป็นกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมได้ และนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
กรณีที่ 4 อ้างว่าอยู่บ้านเฝ้าอาการ แต่แอบไปเที่ยว
ในกรณีจะไม่ได้ค่าจ้างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะตกลงกับนายจ้างด้วยการใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือลาพักร้อน เพราะหากนายจ้างตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้ทำตามข้อตกลง มีสิทธิ์ที่นายจ้างจะใช้เรื่องนี้ถือว่าขาดงาน และไม่จ่ายค่าจ้างได้ และ Covid-19 ยังเป็นโรคติดต่อที่อันตรายร้ายแรง การออกไปข้างนอกนั้นจนทำให้คนอื่น ๆ ได้รับความเสี่ยงที่จะติดโรคไปด้วย ถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย อาจเสี่ยงติดคุกได้
กรณีที่ 4 อ้างว่าอยู่บ้านเฝ้าอาการ แต่แอบไปเที่ยว
ในกรณีที่ตรวจพบว่าตัวเองติด Covid-19 และต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือถ้าสิทธิ์ลาป่วยหมดแล้วก็ให้ใช้สิทธิ์ลาพักร้อนแทน แต่ถ้าเราไม่มีทั้งสิทธิ์ลาป่วยและลาพักร้อนเหลืออยู่เลย ก็อาจจะต้องตกลงกับนายจ้างขอหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท
กรณีที่ 5 ป่วยเป็น Covid-19 ต้องรักษาด้วย
ในกรณีที่ตรวจพบว่าตัวเองติด Covid-19 และต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะสามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือถ้าสิทธิ์ลาป่วยหมดแล้วก็ให้ใช้สิทธิ์ลาพักร้อนแทน แต่ถ้าเราไม่มีทั้งสิทธิ์ลาป่วยและลาพักร้อนเหลืออยู่เลย ก็อาจจะต้องตกลงกับนายจ้างขอหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท
กรณีที่ 6 นายจ้างสั่งปิดที่ทำงานเพราะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ Covid-19
ในกรณีที่มีคนในที่ทำงานสงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือติดเชื้อแล้วเข้ามาทำงาน หรือมีลูกค้าที่ติดเชื้อเข้ามาใช้บริการสถานประกอบการนั้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด นายจ้างอาจสั่งให้ปิดที่ทำงานชั่วคราว เพื่อควบคุมโรค ซึ่งถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้างได้ หรือแล้วแต่ตกลงกันกับลูกจ้าง เช่น ให้ทำงานที่บ้าน แต่ก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่
กรณีที่ 7 นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว
กรณีที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เพราะสถานการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่ต้องหยุดการผลิต เพราะไม่มีวัตถุดิบจากต่างประเทศ หรือธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม บริษัททัวร์ และเราไม่ต้องไปทำงาน จะถือเป็นเหตุสุดวิสัย ลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามกฏหมาย โดยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2551 กำหนดไว้ว่าจะได้รับไม่น้อยกว่า 75%
กรณีที่ 8 หยุดงานโดยสมัครใจ
ในกรณีที่เราเลือกหยุดงานโดยความสมัครใจ กรณีจะไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะตัวนายจ้างก็คงลำบากถึงต้องให้ลูกจ้างหยุดงานเอง ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าสมัครใจหยุดงานหรือไม่ ซึ่งก็อาจสลับกันไปเป็นบางวัน หรือตามนโยบายของที่ทำงานออกมา อย่างไรก็ตาม หากทางบริษัทบังคับก้ต้องปฏิบัติตาม เพื่อช่วยที่ทำงานให้ผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ด้วย
กรณีที่ 9 ภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ค่าจ้าง : การที่ภาครัฐและจังหวัดต่าง ๆ สั่งปิดสถานที่เพื่อไม่ให้คนมารวมกลุ่มกันจนเกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ Covid-19 กรณีนี้ถือเป็นการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างอาจพิจารณาไม่จ่ายค่าจ้างได้ เพราะลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้ ตามหลัก No Work No Pay หรือนายจ้างบางรายอาจจ่ายเงินบางส่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกจ้าง และถ้าหากเป็นงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ Work from Home นายจ้างก็สามารถจ่ายเงินให้เต็มจำนวนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู฿กับดุลพินิจของบริษัทในการพิจารณาจ่ายเงินด้วย
ประกันสังคม : กรณีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงนี้ สามารถยื่นเรื่องรับเงินทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยได้ และนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
สรุป
ถึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่ต้องหยุดงานเพราะสถานการณ์ Covid-19 ใครเป็นลูกจ้างควรตรวจสอบว่าตนเองเข้าข่ายกรณีไหน เพื่อรักษาสิทธิ์ในการมีรายได้ ตลอดจนเงินชดเชยจากประกันสังคม เพื่อให้ผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปได้ด้วยดี
อ่านเพิ่มเติม : ระบบงาน HR ต้องรู้ลึก รู้จริง พร้อมผู้ช่วยจัดการงาน HR