Home » บทความ » ภาษีอะไรบ้าง? ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้เพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ

ภาษีอะไรบ้าง? ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้เพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ

เรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สร้างวุ่นวายให้ชีวิตใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการที่มักจะพบว่าการจ่ายภาษีนี่มันช่างเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่รู้ว่าภาษีอะไรเป็นภาษีอะไร ตัวไหนที่จะต้องจ่าย หรือมีตัวไหนที่ต้องยื่นบ้าง แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี วันนี้ BeeHR จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาษีที่เจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการต้องรู้

โปรแกรมลงเวลาทำงานออนไลน์ BeeHR
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601

ภาษีที่เจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการต้องรู้

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีที่มีรูปแบบในการเรียกเก็บจากนิติบุคคล หรือบุคคลที่มีกฏหมายสมมติให้มีสภาพบุคคล เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา สำหรับการเสียภาษีในประเภทนี้จะเก็บกับผู้ที่ทำธุรกิจแบบจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน โดยกิจการมีหน้าที่ในการเสียภาษี ซึ่งสามารถทำรายการเสียภาษีได้ 2 รูปแบบ คือ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วัน หลังจากวันที่ปิดบัญชีระบบ และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี

  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีนี้เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกันดี ไม่มากก็น้อย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า ที่สามารถทำการขอคืนภายหลังได้ โดยกฏหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ผู้ที่จ่ายเงินให้กับกิจการ (ผู้ที่ซื้อสินค้าหรือบริการ) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่หัก และนำส่งภาษี คือ เจ้าของกิจการที่ทำการขายสินค้าหรือบริการออกไป โดยอัตราการหักก็เป็นไปตามประเภทของเงินได้แต่ละตัวที่มีความแตกต่างกัน

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

          หนึ่งในภาษีที่ใกล้ตัวเราที่สุด เป็นภาษีที่ทุกคนจะต้องเจอเพราะเพียงแค่คุณทำการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน ภาษีประเภทนี้จะถูกหักจ่ายอัตโนมัติ ในส่วนของเจ้าของธุรกิจภาษีนี้จะถูกเก็บจากมูลค่าเพิ่มจากคนทำธุรกิจ หรือผู้ให้บริการประเภทต่าง ๆ ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือผู้ประกอบการ ผู้นำเข้าสินค้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม

  1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีที่มีรูปแบบการเก็บแบบเฉพาะเจาะจงที่จะเก็บกับกิจการที่มีรูปแบบการดำเนินการเฉพาะตัวอย่าง กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ ส่วนใครที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่ไม่ได้บอกไปข้างต้นก็ข้ามภาษีข้อนี้ไปเลย

  1. อากรแสตมป์

สำหรับภาษีอากรแสตมป์นั้น ถือเป็นค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถูกจัดให้เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่งโดยทำการเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน ตาม 28 ลักษณะที่ถูกกำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์โดยใช้การขีดฆ่าเพื่อแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว

ระบบลงเวลาทำงานออนไลน์
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601

เมื่อธุรกิจมีหลากหลายประเภท และรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ธุรกิจแต่ละแบบจึงมีรูปแบบการเสียภาษีที่แตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจที่จัดจำหน่ายขายสินค้า ธุรกิจที่ขายบริการหากมองแบบผ่าน ๆ การเสียภาษีธุรกิจทั้ง 2 รูปแบบอาจเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน อย่างภาษีที่เก็บธุรกิจที่ทำการขายสินค้าส่วนใหญ่จะต้องเสียภาษี 4 ประเภท ยกเว้นภาษีธุรกิจจำเพาะ (ภาษีธุรกิจเฉพาะ) แต่ในกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ก็จะต้องเสียภาษีธุรกิจจำเพาะด้วย

สนใจโปรแกรมเงินเดือน BeeHR

ตัวอย่างกิจการที่ขายบริการ และต้องทำการเสียภาษีจำเพาะ

  • การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
  • การประกอบธุรกิจประเภทหลักทรัพย์ เงินทุน เครดิตฟองซิเอร์

  • การรับประกันชีวิต
  • การรับจำนำของ
  • การประกอบกิจการอย่าง ธนาคารพาณิชย์ เช่น การปล่อยให้กู้ยืม การแลกเปลี่ยนเงินตรา ออกตั๋ว ขายตั๋วเงิน การรับส่งไปต่างประเทศด้วยวิธีการต่างๆ

สรุป

ทั้งหมดนี้ถือเป็นกฏหมายพื้นฐานที่ HR มือใหม่ควรรู้ เพราะส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทำตามกฏระเบียบ ตามที่กฏหมายกำหนด และส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกจ้างทำงานได้อย่างมีความสุข

ขอบคุณข้อมูลจาก : กฏหมายแรงงาน

เพิ่มเพื่อน .. เพื่อติดตามข่าวสารของเรา